พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์คืออะไร
พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ หรือเรียกว่า “HS” เป็นระบบการจำแนกประเภทและระบุสินค้า ปรับปรุงโดยองค์การศุลกากรโลก ประกอบไปด้วยประเภทย่อยประมาณ 5.000 รายการ แต่ละรายการระบุด้วยรหัสพิกัด 6 หลัก ทั้งนี้พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์มีการจำแนกตามโครงสร้างทางกฎหมาย มีที่มาและมีกฎเกณฑ์การจำแนกประเภทของสินค้าที่แน่นอน ได้นำมาใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดพิกัดศุลกากรและจัดเก็บสถิติการค้าระหว่าง ประเทศของกว่า 200 ประเทศและกลุ่มทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้จำนวนสินค้ามากกว่า 98% ทั่วโลกได้ถูกจำแนกประเภทแล้วในระบบHS
ระบบพิกัดศุลกากรแบบฮาร์โมไนซ์ควบคุมโดยกลุ่มประเทศสมาชิกในภาคีอนุสัญญา ระบบฮาร์โมไนซ์ (“The International Convention on the Harmonized Commodity Description and Coding System”) หรือ (HS Convention) สำหรับการตีความอย่างเป็นทางการนั้น ในระบบพิกัดแบบฮาร์โมไนซ์ ประกอบไปด้วย คำอธิบายพิกัดฯ หรือ Explanatory Notes (ซึ่งมีจำนวน 5 เล่ม ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส) จัดพิมพ์โดยองค์การศุลกากรโลก นอกจากนี้คำอธิบายพิกัดนั้นมีเป็นซีดีรอม บรรจุรายละเอียดฐานข้อมูลการจำแนกพิกัดมากกว่า 200,000 พิกัดของสินค้าที่มีการค้าระหว่างประเทศ ณ ปัจจุบัน
การทบทวนแก้ไขระบบพิกัดแบบฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลกนั้นนับเป็น เรื่องสำคัญ โดยรวมถึงมาตรการในการตีความพิกัดตามระบบฮาร์โมไนซ์ซึ่งต้องปรับปรุงให้ทัน สมัยอยู่เสมอ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและรูปแบบของการค้าระหว่างประเทศ องค์การศุลกากรโลกมีคณะกรรมการทบทวนแก้ไขพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (ตั้งจากประเทศภาคีใน HS Convention) เป็นผู้รับผิดชอบตรวจสอบปัญหาเชิงนโยบาย ให้คำวินิจฉัยพิกัดฯ พิจารณาประเด็นที่มีการโต้แย้ง และเตรียมการแก้ไขข้อมูลคำอธิบายพิกัดฯ ทุกๆ 5 – 6 ปี
ศุลกากรไทยกับความตกลงว่าด้วยการกำหนดพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (HS Convention)
รหัส พิกัดศุลกากรของประเทศไทยนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความตกลงว่าด้วยการกำหนด พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (HS Convention) ดำเนินการโดยองค์การศุลกากรโลก ซึ่งประเทศไทยนำข้อบังคับมาใช้ในระบบพิกัดศุลกากรแบบฮาร์โมไนซ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2531 แทนที่รหัสพิกัดฯของ Customs Co-operation Council ที่ใช้มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2503
โครงสร้างพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์
การนำเอาระบบพิกัดฮาโมไนซ์มาใช้นั้น ได้ระบุไว้ในพระกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ประกอบไปด้วย:
ภาคที่ 1 หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร
พิกัดอัตราอากรขาเข้า
พิกัดอัตราอากรขาออก
ของที่ได้รับยกเว้นอากร
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรรวมถึงข้อกำหนดทั่วไป รหัสสถิติของสินค้า และส่วนแก้ไขพระราชกำหนดฯ
การจำแนกพิกัดฯ
ระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์จำแนกประเภทสิ่งของเป็น 21 หมวด และ 97 ตอน และเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน จึงนำพิธีสารว่าด้วยการจำแนกพิกัดศุลกากรอาเซียน (the AHTN Protocol) ที่มีหน่วยตัวเลขพิกัดแปดหน่วย ซึ่งพื้นฐานอยู่กับระบบหน่วยตัวเลขหกหน่วยขององค์การศุลกากรโลก (HS Code of WCO) แต่เพิ่มอีกสองหน่วยเพื่อแสดงพิกัดฮาร์โมไนซ์อาเซียน ทั้งนี้ประเทศไทยใช้ระบบพิกัดฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544
ที่มา - เอกสารประชาสัมพันธ์ของกรมศุลกากร