ดัชนีบทความ |
---|
กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย |
หน้าที่ 2 |
หน้าที่ 3 |
หน้าที่ 4 |
ทุกหน้า |
กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย,
ตามพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติ ดังนี้
๑ คำจำกัดความ
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุดังต่อไปนี้
(๑) วัตถุระเบิดได้
(๒) วัตถุไวไฟ
(๓) วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์
(๔) วัตถุมีพิษ
(๕) วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
(๖) วัตถุกัมมันตรังสี
(๗) วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
(๘) วัตถุกัดกร่อน
(๙) วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
(๑๐) วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันต รายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม
“ผลิต” หมายความว่า ทำ เพาะ ปรุง ผสม แปรสภาพ ปรุงแต่ง แบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ
“นำเข้า” หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำผ่าน
“ส่งออก” หมายความว่า ส่งหรือดำเนินการเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
“ขาย” หมายความถึง การจำหน่าย จ่ายหรือแจกเพื่อประโยชน์ทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย
“มีไว้ในครอบครอง” หมายความว่า การมีไว้ในครอบครองไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะเป็นการมีไว้เพื่อขาย เพื่อขนส่ง เพื่อใช้ หรือเพื่อประการอื่นใด และรวมถึงการทิ้งอยู่ หรือปรากฏอยู่ในบริเวณที่อยู่ในความครอบครองด้วย
“พนักงานเจ้าหน้าที่”หมายความว่าผู้ซึ่งรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบแต่งตั้งให้ปฏิบัติ การตามพระราชบัญญัตินี้
๒ วัตถุอันตรายแบ่งออกเป็น ๔ ชนิดดังนี้
มาตรา ๑๘ วัตถุอันตรายแบ่งออกตามความจำเป็นแก่การควบคุม ดังนี้
(๑) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่ง ออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
(๒) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่ง ออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย
(๓) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่ง ออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต
(๔) วัตถุอันตรายชนิดที่ ๔ ได้แก่วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง
เพื่อประโยชน์แก่การป้องกันและระงับอันตรายที่อาจมีแก่บุคคลสัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยความเห็นของคณะกรรม การมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาระบุชื่อหรือคุณสมบัติของวัตถุอันตรายชนิด ของวัตถุอันตราย กำหนดเวลาการใช้บังคับและหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าว