ดัชนีบทความ |
---|
คำพิพากษาฏีกาเกี่ยวกับการพิจารณาความผิด |
หน้าที่ 2 |
หน้าที่ 3 |
หน้าที 4 |
ทุกหน้า |
คำพิพากษาฏีกาเกี่ยวกับการพิจารณาความผิด
๑ คำพิพากษาฏีกาที่ ๑00๒/๒๔๘๔
การหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร หรือการฉ้อภาษีหรือพยา ยามฉ้อภาษีเป็นความผิดซึ่งกฎหมายระบุให้ลงโทษอย่างเดียวกัน แต่การนำเข้าของต้องห้ามกฎหมายมิได้ระบุเป็นพิเศษ ฉนั้นถ้าเป็นเพียงพยายามก็ต้องลงโทษฐานพยา ยามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๘0
หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๘๐ ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด
ผู้ใดพยายามกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
๒ คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๓๓/๒๔๘๖
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ๒ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติศุลกากรและพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกและการนำเข้ามาซึ่งสินค้าบางอย่าง ในการที่จะวินิจฉัยว่าบทกฎหมายใดเป็นบทที่มีอาญาหนักตามกฎหมายอาญา มาตรา๙0 นั้น ต้องถือโทษจำคุกเพราะโทษจำคุกเป็นโทษที่ร้ายแรงกว่าโทษปรับ
มาตรา ๙๐ เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
๓ คำพิพากษาฏีกาที่ ๗00/๒๔๘๖
ในคดีลักลอบนำสิ่งของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อของกลางที่จับมาสามารถแยกได้ว่าสิ่งไหนเป็นของจำเลยคนใดซึ่งต่างคนต่างพาเข้ามา ศาลจึงปรับจำเลยแยกกัน
๔ คำพิพากษาฏีกาที่ ๓0/๒๔๘๗
การกระทำซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรและพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกและการนำเข้ามาซึ่งสินค้าบางอย่างนั้น ต้องลงโทษตามพระราช บัญญัติควบคุมการส่งออกและการนำเข้ามาซึ่งสินค้าบางอย่างซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักกว่า เมื่อลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้และเป็นความผิดฐานพยายาม ก็ต้องลดโทษฐานพยายามให้กับจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๘0