การฟ้องคดีคำสั่งทางปกครองเกี่ยวกับภาษีอากร
๑ ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีทางปกครอง พ.ศ.2542 กำหนดอำนาจของศาลปกครอง
๑.๑ ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทางปกครอง ดังนี้
(๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระ ทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎคำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎ หมายหรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประ ชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
( ๒ ) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วย งานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
(๕) คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
(๖) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปก ครอง
๑.๒ ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีทางปกครอง พ.ศ.2542 กำหนดศาลปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทางปกครองหรือมีคำสั่ง ดังนี้
(๑) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
(๒) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
(๓) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชน และครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น
๒ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 กำหนดอำนาจของศาลภาษีอากร
มาตรา ๗ ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งในเรื่องต่อไปนี้
(๑) คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร
(๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร
(๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
(๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร
(๕) คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร
หมายเหตุ การฟ้องคดีศาลภาษีอากรต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อน
มาตรา ๘ คดีตามมาตรา ๗ (๑) ในกรณีที่กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรบัญญัติให้คัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะฟ้องคดีในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเช่นว่านั้น และได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว
มาตรา ๙ คดีตามมาตรา ๗ (๓) ในกรณีที่กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรบัญญัติให้ขอคืนค่าภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะดำเนินการในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเช่นว่านั้น
๓ คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ร.468/2552 คำร้องที่ ร.141/2552
ผู้ฟ้องคดี (บริษัท แอตแลนติก มิลล์ (ประเทศไทย)จำกัด) เป็นผู้ประกอบกิจการนำเข้าเครื่องจักรผลิตสิ่งทอ ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับนำเข้าเครื่องทอผ้าพร้อมอุปกรณ์ครบชุด จำนวน 7 รายการตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ต่อมาได้ถูกยกเลิกสิทธิและประโยชน์ ในการยกเว้นอากรขาเข้าดังกล่าว เจ้า หน้าที่ของด่านศุลกากรพระสมุทรเจดีย์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี (กรมศุล กากร) จึงได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินภาษีอากรตามแบบแจ้งการประเมินภาษีอากร ลงวันที่ 9 มกราคม 2551 และมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินเพิ่มตามหนังสือ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวจึงได้ยื่นอุทธรณ์ต่อผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาแล้วมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาว่า เจ้าหน้าที่ของด่านศุลกากรพระสมุทรเจดีย์ได้ออกคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบปฏิบัติแล้ว
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงนำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ศาลปกครองเห็นว่า คดีนี้เป็นเรื่องพิพาทที่สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีในเรื่องเกี่ยวกับภาษีอากรจึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตามมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรคสอง (3) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ