เกณฑ์ระงับคดีฐานสำแดงเท็จ
๑ ลักษณะความผิด
การสำแดงเท็จหมายถึง การสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าไม่ตรงกับหลักฐานเอกสารและข้อเท็จจริงในการนำเข้าและส่งออก การกระทำผิดฐานสำแดงเท็จมีหลายลักษณะ ดังนี้
|
(๑) การยื่นใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรเป็นความเท็จ หรือไม่บริบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดในรายการใด ๆ ก็ตาม |
การกระทำตามลักษณะที่เป็นไปตามข้อ (๑)-(๖) ให้ถือเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงถึงว่า ผู้กระทำผิดมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่
๒ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ตามพระราชบัญญัติ ศุลกากร พระพุทธศักราช2469 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา ๙๙ ผู้ใดกระทำหรือจัดหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ หรือยื่น หรือจัดให้ผู้อื่นยื่นซึ่งใบขนสินค้า คำแสดง ใบรับรอง บันทึก เรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยพระราชบัญญัตินี้ หรืออันพระราชบัญญัตินี้บังคับให้กระทำนั้นเป็นความเท็จก็ดี เป็นความไม่บริบูรณ์ก็ดี หรือเป็นความชักพาให้ผิดหลงในรายการใด ๆ ก็ดี หรือถ้าผู้ใดซึ่งพระราชบัญญัตินี้บังคับให้ตอบคำถามอันใดของพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้ตอบคำถามอันนั้นโดยสัตย์จริงก็ดี หรือถ้าผู้ใดไม่ยอม หรือละเลยไม่ทำไม่รักษาไว้ซึ่งบันทึกเรื่องราว หรือทะเบียน หรือสมุดบัญชี หรือเอกสาร หรือตราสารอย่างอื่น ๆ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้บังคับไว้ก็ดี หรือถ้าผู้ใดปลอมแปลงหรือใช้เมื่อปลอมแปลงแล้วซึ่งเอกสารบันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นที่พระราชบัญญัตินี้บังคับไว้ให้ทำ หรือที่ใช้ในกิจการใด ๆ เกี่ยวด้วยพระราชบัญญัตินี้ก็ดี หรือแก้ไขเอกสารบันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลังที่ได้ออกไปแล้วในทางราชการก็ดี หรือปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานกรมศุลกากร หรือซึ่งพนักงานกรมศุลกากรใช้เพื่อการอย่างใด ๆ อันเกี่ยวด้วยพระราชบัญญัตินี้ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓ หลักเจตนา
พระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9) พระพุทธศักราช2482
มาตรา ๑๖”การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ และมาตรา ๙๙ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙ นั้น ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่”
๓ เกณฑ์ระงับคดี
“(๒) กรณีความผิดฐานสำแดงเท็จเกี่ยวกับการไม่รักษาเอกสาร บันทึกเรื่องราว ทะเบียนสมุดบัญชีหรือตราสารอย่างอื่น ซึ่งกฎหมายศุลกากรบังคับไว้ ให้ปรับ 1,000- บาท
(๓) กรณีการสำแดงเท็จเกี่ยวกับข้อมูลในใบขนสินค้าอันได้แก่ รหัสสถิติสินค้า มูลค่าการนำเข้าและส่งออก ปริมาณหรือน้ำหนักตามหน่วยที่จัดเก็บสถิติ รหัสประเทศที่เป็นสากล อัตราแลกเปลี่ยนและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อค่าอากรให้ปรับ 500- บาท เว้นแต่กรณีที่ผู้กระทำความผิดตรวจพบความผิดเองแล้วร้องขอแก้ไขให้ถูกต้องโดยแสดงแจ้งชัดเป็นลายลักษณ์อักษรต่อเจ้าหน้าที่ ภายใน 10 วัน นับแต่วันส่งมอบหรือส่งออก ให้ผ่อนผันการปรับ
(๔) กรณีความผิดฐานสำแดงเท็จที่มีข้อเท็จจริงและหลักฐานเห็นได้ว่ามูลเหตุแห่งการกระทำผิดเกิดจากผู้กระทำความผิดไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ ให้ปรับร้อยละ 10 ของอากรที่ขาดไม่น้อยกว่า 1,000- บาท แต่ไม่เกิน 100,000.- บาท และให้ชำระค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วนพร้อมเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามส่วน
(๕) ความผิดฐานสำแดงที่อยู่และหรือสถานประกอบการในใบขนสินค้าขาเข้า ใบขนสินค้าขาออกหรือเอกสารอื่น ๆ เป็นเท็จ หรือการสำแดงเอกสารดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ผิดหลง ซึ่งที่อยู่หรือสถานประกอบการโดยสถานที่ดังกล่าวไม่มีสภาพแห่งการเป็นสถานประกอบการอย่างแท้จริง หรือมีการแอบอ้างสถานที่โดยฉ้อฉลให้เปรียบเทียบปรับ 50,000.- บาท
(๖) ความผิดฐานไม่จัดเก็บและรักษาบัญชี เอกสารหลักฐาน และข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใด ๆ ที่กำลังผ่านหรือได้ผ่านศุลกากรแล้ว ไม่เก็บเอกสารไว้ ณ สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นๆ ที่อธิบดีกำหนดให้เปรียบเทียบปรับ ไม่น้อยกว่า 10,000- บาท แต่ไม่เกิน 50,000- บาท
(๗) การกระทำใด ๆ อันเกี่ยวกับสินค้าที่ส่งออก หรือประสงค์จะส่งออกเพื่อขอคืนอากรหรือชดเชยค่าภาษีอากร หากข้อเท็จจริงและหลักฐานปรากฏในคดีเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ ให้ปรับ หรือชดเชยค่าภาษีอากร หากข้อเท็จจริงและหลักฐานปรากฏในคดีเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ ให้ปรับร้อยละ 10 ของจำนวนค่าอากรที่อาจจะได้รับคืนหรือเงินชดเชยที่จะพึงได้รับเกินกว่าความจริง ทั้งนี้ค่าปรับต้องไม่น้อยกว่า 1,000.- บาท แต่ไม่เกิน 50,000.- บาท
(๘) การสำแดงเท็จเกี่ยวกับของที่นำเข้าเก็บในและนำออกจาก คลังสินค้าทัณฑ์บน หรือเขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรี หรือขอใช้สิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งอาจเป็นช่องทางให้ทุจริตได้ แม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะยกเว้นหรือลดหย่อนอากรให้ได้ก็ตาม ให้ปรับ 1,000.- บาท
(๙) ความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 เกี่ยวกับการปลอมหรือแก้ไขเพิ่มเติม ตัดทอนข้อความแห่งเอกสารใด ให้ปรับดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การแก้ไขเพิ่มเติม ตัดทอน ข้อความแห่งเอกสารโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อค่าอากร ให้ปรับ 1,000.- บาท
ข้อ ๒ การปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ปรับร้อยละ 10 ของราคาของไม่น้อยกว่า 10,000.- บาท แต่ไม่เกิน 50,000.- บาท
หากการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและ/หรือใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๖๔ และ/หรือ มาตรา ๒๖๘ ซึ่งอัตราโทษในความผิดฐานปลอมเอกสาร และ/หรือใช้เอกสารปลอมสูงกว่าอัตราโทษในความผิดฐานสำแดงเท็จไม่ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หรือต่างกรรมต่างวาระ ให้ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี หากเป็นกรณีกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และมีผลกระทบต่อค่าภาษีอากร อันเป็นความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากร ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพระพุทธศักราช ๒๔๖๙ ซึ่งเป็นบทหนัก ให้เปรียบเทียบระงับคดีตามเกณฑ์ประมวลฯ 1 06 03 01 (10)”
ที่มา คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 10/2554 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554